welcome

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบเพิ่มเติม

จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร
ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม

ตอบ   จุดเด่น
- ทำให้การเรียนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนวิชานี้
- ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ weblog ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ทันสมัย เหมาะกับการเป็นครูพันธุ์ใหม่ด้วย
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการใช้ weblog นำไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในการเป็นครูในอนาคตได้ด้วย
- การเรียนผ่าน weblog ยังเป็นการเรียนที่ทันสมัย และสะดวกสบายต่อผู้สอนละผู้เรียน

- นักศึกษาบางคนที่ถนัดในเรื่องนี้ก็สามารถนำความรู้เรื่อง weblog ไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย
- Weblog เป็นสื่อการเรียนที่กว่างไกล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
- นอกจากเราจะได้ความรู้แล้ว เรายังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นได้ศึกษาผ่าน weblog ของเราได้อีกด้วย
- การสร้าง weblog เป็นของตนเอง ยังเป็นการเก็บสะสมผลงาน และโชว์ผลงานของเราให้กับผู้อื่นได้ชื่นชมด้วย


จุดด้อย
- การใช้ weblog ในการเรียนรายวิชานี้ไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาของรายวิชาที่เรียน
- ต้องทุ่มเทเวลาให้กับการตกแต่งหรือกรอกข้อมูลลงไปใน weblog
- การใช้ weblog จะเกิดปัญหามากถ้าไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพราะการใช้ weblog จะต้องมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
- ข้อมูลบางอย่างเราไม่สามารถเผยแพร่ทาง weblog ได้

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค


คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนใน Weblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ
จากกรณีความวุ่นวายในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในสมัยนายทักษิณ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูพันธุ์ใหม่ ข้าพเจ้าคิดว่านายทักษิณมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี คือ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นทางด้านเกษตรกรรม เช่น ข้าพเจ้าเป็นคนใต้ เกษตรกรรมในภาคใต้คือ ยางพารา ในสมัยนั้นยางพารามีราคาสูง ทำให้เกษตรกรมีรายได้เยอะ และนายทักษิณยังช่วยให้ประเทศไทยใช้หนี้ IMF ได้หมด ส่วนในเรื่องยาเสพติดข้าพเจ้าคิดว่า มีการใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการปราบปรามยาเสพติด
ข้อเสีย คือ การยึดเอาความคิดตัวเองเป็นหลัก เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าส่วนรวม คิดจะ ล้มล้างพระมหากษัตริย์ จะปฏิรูปการปกครองมาเป็นแบบประธานาธิบดี ไม่สนใจประชาชน คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ที่สำคัญคือ เห็นแก่เงิน
ในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่านายทักษิณขาดคุณธรรมและจริยธรรมในการเป็นผู้นำ ถ้าข้าพเจ้าเป็นครูพันธ์ใหม่ จะสอนให้ผู้เรียนรู้ว่า ผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในตนเอง ความหมายของจริยธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติที่ชอบธรรม หรือเป็นหลักปฏิบัติที่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกที่ควร เราสามารถศึกษาจริยธรรมของสังคมหนึ่ง ๆ ได้จากขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศีลธรรม ไม่ควรเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ยึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่เหมือนกับนายทักษิณ ถ้าผู้เรียนมีจริยธรรม และคุณธรรมในตนเองได้ ผู้เรียนก็จะเป็นผู้นำที่ดีได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคนเราทุกคนก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับนายทักษิณ ดังนั้นเราควรเลือกในส่วนที่เป็นข้อดีของท่านมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลกับตัวเรา ส่วนด้านข้อเสียเราก็อย่านำเอามายึดเป็นแบบอย่าง ถ้าผู้เรียนทำได้ดังนี้ท่านก็จะสามารถเป็นผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพได้
ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง

ตอบ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จะต้องจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการให้ผู้เรียนฟังครูบรรยายตลอดบทเรียน ครูจะใช้เวลาไม่มากให้ข้อมูลเบื้องต้น เวลาส่วนใหญ่จะเน้นให้ผู้เรียนได้ ทำกิจกรรม เช่น อภิปรายกลุ่มย่อย ศึกษาข้อมูล จากตำรา ห้องสมุดหรือจากอินเทอร์เน็ต ระดมความคิด นำเสนอผลงาน
ในฐานะที่ข้าพเจ้าจะเป็นครูในอนาคตข้าพเจ้าจะสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำแผนการสอนล่วงหน้าก่อนที่จะสอน เพื่อให้การสอนเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ มีการเตรียมสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและหลากหลาย เพื่อนำไปประกอบการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด และข้าพเจ้าพยายามทำตัวเป็นกันเองกับนักเรียนเพื่อไม่ให้นักเรียนตึงเครียดในการเรียนรู้ ข้าพเจ้าจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนเพิ่มเติมพร้อมที่จะนำไปสอนอยู่เสมอ และจะทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแต่งการ การพูดจา บุคคลิกภาพ รวมไปถึงการมีอัธยาศัยที่ดีต่อบุคคลรอบข้างด้วย
ส่วนการจัดบรรยากาศในห้องเรียนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ลืมไม่ได้ ข้าพเจ้าจะจัดห้องเรียนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีการตกแต่งป้ายนิเทศภายในห้องเพื่อให้เกิดสีสันที่น่าสนใจและทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย กระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น

ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ - นำนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การสอนผ่าน weblog มาเป็นสื่อในการเรียนการสอน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนมากยิ่งขึ้น และไม่เบื่อหน่าย
- นำไปปรับปรุงและประยุกต์จากแนวการสอนแบบเดิมๆ ซึ่งเป็นการสอนที่เน้นการบรรยายเพียงอย่างเดียวและยึดครูเป็นสำคัญ มาเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การสร้างสื่อแบบมัลติมีเดีย เช่น ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูคณิตศาสตร์ก็จะสอนนักเรียนป่านโปรแกรม GSP ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติไปพร้อมๆ กับตัวผู้สอน ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
- จะนำไปสร้างสื่อการสอนที่ใหม่ๆ อยู่เสมอ


ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียน คือ ทำให้มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ดีและมีระบบมากยิ่งขึ้น เพราะมีการประกันคุณภาพ ทำให้ผู้เรียนและผู้ปกครองเกิดความเชื่อมั่นและไว้ใจในการบริหารจัดการในชั้นเรียนของเรา และยังเป็นการยกระดับคุณภาพของโรงเรียนให้สูงขึ้น และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง และส่งนักเรียนเข้ามารับการศึกษาในสถานศึกษานั้นๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ
ข้อดี- ตรงต่อเวลา
- เอาใจใส่ผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง
- มีรูปแบบการสอนที่ทันสมัย
- เป็นผู้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันกับโลกในยุคปัจจุบัน
- มีสื่อการสอนที่ทันสมัย
- รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
- ให้คำปรึกษาที่ดีในทุกเรื่อง
- บุคลิกภาพดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- มีอัธยาศัยดีต่อนักศึกษา
- สอนให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้สำหรับอาชีพการเป็นครูในอนาคตได้


ข้อเสีย

- บางครั้งอาจารย์สอนและพูดเร็วเกินไป จนนักศึกษาตามไม่ทัน
- การที่อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานผ่านเวปบล๊อก ทำให้เกิดปัญหาแก่นักศึกษาบางคนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์
- อาจารย์ไม่มีการ comment ให้นักศึกษาหลังจากการรายงาน

ข้อเสนอแนะ
- อยากให้อาจารย์สอนและอธิบายให้ช้าลงกว่าเดิม
- อยากให้อาจารย์นำนักศึกษาไปสังเกตและสัมผัสกับการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้พบกับประสบการณ์จริง และสามารถนำมาใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดเรียนการสอนให้กับนักเรียนของเราได้ในอนาคต

ส่งรายงานกลุ่มที่ 11 การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

http://www.mediafire.com/?gxgz4zimky5

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 10



การจัดชั้นเรียนที่ดี



ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน
ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง
บรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน



ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

รูปแบบการจัดชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ
1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา
2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง